กลิ่นสำหรับเครื่องดื่ม

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

กลิ่นที่นิยม เช่น กลิ่นเบียร์, กลิ่นค็อกเทล, กลิ่นวิสกี้, กลิ่นไวน์แดง, กลิ่นบรั่นดี, กลิ่นเหล้ายิน, กลิ่นไม้โอ๊ค

เครื่องดื่มอัดก๊าซ

กลิ่นโคล่า, กลิ่นครีมโซดา, กลิ่นเลมอน-ไลม์, กลิ่นรูทเบียร์

น้ำผลไม้

กลิ่นธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่นิยมตลอดกาล
กลิ่นตระกูลซิตรัส: กลิ่นส้ม, กลิ่นส้มจีน (Tangerine), กลิ่นส้มญี่ปุ่น (Yuzu), กลิ่นมะนาว, กลิ่นเลมอน, กลิ่นส้มโอ, กลิ่นน้ำผึ้งผสมมะนาว
กลิ่นตระกูลเบอร์รี่: กลิ่นมิกซ์เบอร์รี่, กลิ่นสตรอว์เบอร์รี่, กลิ่นบลูเบอร์รี่, กลิ่นราสป์เบอร์รี่
กลิ่นผลไม้: กลิ่นมะพร้าวอ่อน, กลิ่นมะม่วง, กลิ่นลิ้นจี่, กลิ่นลำไย, กลิ่นมะละกอ, กลิ่นสับปะรด, กลิ่นเสาวรส, กลิ่นฝรั่ง, กลิ่นสละ, กลิ่นแอปเปิ้ล, กลิ่นกีวี่ เป็นต้น

เครื่องดื่มฟังก์ชันนัล

เป็นเครื่องดื่มที่มีความนิยมสูงขึ้นมากโดยเฉพาะกลุ่มบิวตี้ ดริ้งค์ กลิ่นผลไม้ที่เข้ากับเครื่องดื่มประเภทนี้ ได้แก่ กลิ่นองุ่น, กลิ่นทับทิม, กลิ่นมังคุด, กลิ่นเบอร์รี่
เครื่องดื่มสมุนไพร ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่ ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุอีกต่อไป ได้แก่ กลิ่นขิง, กลิ่นหล่อฮั่งก้วย, กลิ่นเก๊กฮวย, กลิ่นน้ำเห็ด, กลิ่นดอกไม้ เช่น มะลิ, กุหลาบ, อัญชัน เป็นต้น

กลิ่นกาแฟ & กลิ่นชา

รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้บริโภคหันมาดื่มกาแฟและชาเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคในไทยนิยมเครื่องดื่มทั้งแบบผสมน้ำแข็งและแบบแช่เย็นมากขึ้น
กลิ่นกาแฟ: กลิ่นลาเต้, กลิ่นมอคค่า, กลิ่นคาปูชิโน่, กลิ่นเอสเปรสโซ่, กลิ่นเฮเซลนัท เป็นต้น
กลิ่นชา: กลิ่นชาเขียว, กลิ่นชาเขียวใส่นม, กลิ่นชานม, กลิ่นชามะนาว, กลิ่นชาผลไม้ เป็นต้น
กลิ่นเครื่องดื่มธัญพืช: ในกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุพบว่ามีการดื่มเครื่องดื่มธัญพืชเพิ่มมากขึ้น กลิ่นหลักๆ ที่นิยมคือ กลิ่นมอลต์, กลิ่นงาดำ, กลิ่นข้าวโพด, กลิ่นข้าวโอ๊ต, กลิ่นข้าวหอมมะลิ, กลิ่นข้าวไรซ์เบอร์รี่, กลิ่นข้าวหอมญี่ปุ่น, กลิ่นนมถั่วเหลือง เป็นต้น